วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงการสื่อสร้างสรรค์ประแบบ POP UP

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากปัจจุบันสื่อมีหลายรูปแบบที่ใช้ในการเรียนการสอนของผู้ครู สื่อก็มีดีหรือไม่ดีที่ใช้ในการสอนสื่ออย่างเช่น ภาพแบบโปสเตอร์หรือบัตรคำ ประกอบการเรียนการสอนของนักเรียน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ นักเรียนไม่สนใจในการเรียนการสอนจากปัญหาดังกล่าว
ผู้ทำโครงการจึงสร้างเว็บ 2.0 ที่ชื่อว่า blog เพื่อนำเสนอนวัตกรรมโดยใช้เนื้อหาสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในการศึกษาจากข้อมูลต่างๆ ผู้จัดทำหวังอย่างยิ่งว่า เว็บไซด์นี้จะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชนคนไทย โดยเฉพาะครูอาจารย์ผู้สอน และเด็กไทยที่สนใจในเรื่องนี้ เพื่อไปประกอบการเรียนรู้นำไปทดลองใช้ในการแก้ปัญหาของนักเรียนมีความสนใจหรือมีการเรียนรู้มากขึ้นกว่าเดิม และนำมาปรับปรุงจนได้ประสิทธิภาพจนนำไปใช้อีกครั้ง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อรวบรวมข้อมูลอันเป็นประโยชน์ และทันสมัยกับยุคปัจจุปัน
2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านสื่อสร้างสรรค์แบบ POP UP ให้กับครูอาจารย์หรือผู้ที่สนใจ
3. เพื่อความตระหนักถึงความสำคัญของการสอนสำหรับเด็กแต่ละชั้นเรียน และนำประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ใน
ชีวิตประจำวัน

กลุ่มเป้าหมาย
3.1 เชิงปริมาณ(Output) จำนวนผู้เยี่ยมชม
3.2 เชิงคุณภาพ(Outcome) จัดทำ web board เพื่อนำเสนอความคิดเห็น ต่างๆ ของบุคคลที่เข้าเยี่ยมชม

ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ศึกษาข้อมูลด้านสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP
2. วิเคราะห์ โครงงาน 1 – 3 กันยายน 2551
3. นำเสนอ โครงงาน 3 กันยายน 2551
4. ดำเนินงาน 4 – 15 กันยายน 2551
5. ส่งโครงงาน 17 กันยายน 2551

สรุปประเมินผลโครงการ
-
ระยะเวลา
ภาคเรียนที่ 1 /2551
เดือน กันยายน
งบประมาน
-
7. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบ POP UP
2. ความรู้ความสามารถของนักเรียน – นักศึกษา เรื่องเกี่ยวกับสื่อสร้างสรรค์ประเภท POP UP ทั่วไปมีเพิ่มสูงขึ้น
3. เป็นฐานข้อมูลให้สืบค้นให้กับผู้ที่สนใจเกี่ยวกับสื่อสร้างสรรค์ประเภทแบบPOP UP

8. ผู้รับผิดชอบโครงการ
นาย ศักรินทร์ ศรีทอง
นักศึกษามหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ครุศาสตร์เทคโนโลยี สาขาวิชา สื่อวิทยุโทรทัศน์

9. ที่ปรึกษาโครงการ
Asst. Prof. Dr. Tuangrat Sriwongkol (Ph.D. in Instructional Design and Development)Department of Educational Technology King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

ลักษณะทั่วไป ของ ภาพเคลื่อนไหว แบบพับ
ภาพเคลื่อนไหวแบบนี้ จะมีแกนที่ใช้ดึงภาพ เพื่อให้ตัวการ์ตูนสามารถขยับซ่อนตัวหรือแอบมองได้ ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เรียนมาก


หลักการในการผลิตภาพ ภาพเคลื่อนไหว แบบพับ
1. ภาพเคลื่อนไหว แบบพับ นี้ ต้องใช้แกนสองอันทากาวประกบกับเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับแกน
2. การพับควรกะระยะให้พอดีตามต้องการ เพื่อไม่ให้กระดาษอ่อนเสียรูปทรง
3. การติดกาวต้องระวังอย่าติดให้ชิดกับแกนมากนักเพราะอาจทำให้ดึงแกนขึ้น-ลงลำบาก
4. ในการตัดส่วนปลายของแกนต้องระวัง อย่าตัดชิดเกินไปเพราะอาจทำให้แกนสั้นไม่สามารถดึงได้ขึ้น-ลงได้
5. กาวที่ใช้ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง แล้วกดให้แน่นและอย่างพึ่งรีบขยับ รอสักครู่ให้กาวแห้ง เพื่อที่จะได้ติดอย่างแนบสนิท


ขั้นตอนการผลิตภาพเคลื่อนไหว แบบพับ

1.วาดภาพหรือสำเนาภาพ ลงบนกระดาษที่มีความหนา 150-180 แกรม ขนาด A4 ระบายสีให้สวยงาม
\


2. ตัดภาพและแกน ดังรูป โดยแกนต้องใช้ 2 อัน ทากาวประกบกัน เพื่อที่แกนจะได้มีความแข็งแรง ไม่อ่อนเวลาดึงขึ้น-ลง


3. ทากาวที่แกนแล้วติดกับด้านหลังของรูปตัวการ์ตูน ดังรูป



4.พับตัวการ์ตูนให้เหมือนกับกำลังซ่อนตัวหรือแอบมองอยู่ ดังรูป



5.ทากาวด้านหลังของตัวการ์ตูนในส่วนที่กำหนดไว้ ดังรูป โดยเว้นช่วงให้ห่างจากแกนเล็กน้อย


6.นำภาพไปติดกับพื้นหลัง ดังรูป จากนั้นตัดตกแต่งความสั้นยาวของแกนให้เหมาะสมสวยงาม




7.เราก็จะได้ภาพเคลื่อนไหวพับ ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เรียนมาก





ข้อควรระวังและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในการผลิต ภาพเคลื่อนไหวพับ
1. แกนดึงไม่คล่อง ปัญหานี้แก้ไขได้โดย เวลาทากาวต้องเว้นช่องว่างให้ใหญ่กว่าแก่นเล็กน้อยเพื่อที่แกนจะได้ขยับขึ้นลงได้สะดวก
2. ตัดแกนแล้วสั้นเกินไป ปัญหานี้แก้ไขได้โดย ในการติดรูปควรติดให้อยู่กึ่งกลางของภาพ เพราะเวลาตัดแกนให้พอดีกับขอบกระดาษแล้ว แกนจะได้ไม่สั้นเกินไป
3. ติดกาวแล้วไม่สนิทหลุดได้ ปัญหานี้แก้ไขได้โดย กาวที่ใช้ ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง แล้วกดให้แน่นและอย่างพึ่งรีบดึงแกน รอสักครู่ให้กาวแห้ง เพื่อที่จะได้ติดอย่างแนบสนิท

การเก็บรักษาภาพเคลื่อนไหว
1. เก็บใส่ซองกระดาษ หรือ ซองพลาสติก
2. เก็บใส่แฟ้ม
3. ทำกล่องสำหรับเก็บโดยเฉพาะ โดยแยกเป็นเรื่องๆ หรือเป็นชุด

การประยุกต์ใช้
1. สร้างสรรค์เป็นการ์ดอวยพร
2. นำไปประกอบตกแต่งในป้ายนิเทศเพื่อดึงดูดความสนใจ
3. นำไปประกอบการเรียนการสอน
4. ใช้ประกอบการเล่านิทาน
5. ทำธุรกิจเล็กๆ

ลักษณะทั่วไป ของ ภาพเคลื่อนไหว แบบขยับ

ลักษณะทั่วไป ของ ภาพเคลื่อนไหว แบบขยับ
ภาพเคลื่อนไหว แบบนี้เหมาะที่จะทำให้ส่วนปีก แขน และขาของตัวการ์ตูนสามารถขยับเคลื่อนไหวได้ เมื่อดึงภาพ ซึ่งจะสร้างความเร้าใจให้กับผู้เรียนมาก


หลักการในการผลิตภาพ ภาพเคลื่อนไหวแบบขยับ
1. ภาพเคลื่อนไหวแบบขยับนี้ ในการพับแกนแต่ละส่วนต้องมีขนาดเท่าๆ กันทุกส่วน เพื่อภาพจะได้ขยับอย่างถูกต้องและสวยงาม
2. การวาดปีก แขน หรือขา ให้วาดชูสูงขึ้นมากกว่าปกติเล็กน้อย เพราะเวลาพับแกนแล้ว ปีกจะต่ำลง จึงต้องวาดให้ชูสูงมากกว่าปกติเล็กน้อย
3. กาวที่ใช้ ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง แล้วกดให้แน่นและอย่างพึ่งรีบขยับ รอสักครู่ให้กาวแห้ง เพื่อที่จะได้ติดอย่างแนบสนิท



ขั้นตอนการผลิตภาพเคลื่อนไหวแบบขยับ
1.วาดหรือสำเนาภาพการ์ตูน ลงบนกระดาษที่มีความหนา 150-180 แกรม โดยแยกกันระหว่างส่วนลำตัวกับปีก ในการวาดส่วนของปีกจะต้องวาดให้ชูสูงกว่ามากกว่าปกติเล็กน้อย ดังรูป ระบายสีให้สวยงาม


2. ปีกจะเป็นชิ้นเดียวกันกับแกน โดยแกนจะต้องมีการกำหนดรอยพับและบริเวณที่จะทากาว รอยพับแต่ละส่วนต้องเท่ากัน ดังรูป (ในที่นี้กำหนดส่วนละ 1 เซนติเมตร)จากนั้นระบายสีให้สวยงาม


3. ตัดภาพลำตัวกับแกนปีก ดังรูป




4.ทากาวบนแกน ดังรูป แล้วนำตัวของการ์ตูนไปติด


5.เราก็จะได้ภาพภาพเคลื่อนไหวแบบขยับ ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เรียนมาก


ข้อควรระวังและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในการผลิต ภาพเคลื่อนไหวแบบขยับ
1. ติดตัวการ์ตูนแล้ว เวลาขยับตัวการ์ตูนเลยออกจากกระดาษ ปัญหานี้แก้ไขได้ คือ เวลาติดแกนกับพื้นหลัง ต้องคำนึงถึงเวลานำตัวการ์ตูนมาติดทับอีกที ตัวการ์ตูนต้องไม่เลยออกจากระดาษ
2. ปีกไม่ขยับ ปัญหานี้แก้ไขได้โดย เวลาทากาวต้องทาต้องตำแหน่งที่กำหนดไว้เท่านั้น ถ้าทาผิดปีกก็จะไม่สามารถขยับได้
3. ปีกอยู่ต่ำเกินไป ปัญหานี้แก้ไขได้โดย เวลาวาดปีกต้องวาดให้ชูสูงมากกว่าปกติ เพราะเมื่อพับแกนแล้วปีกจะต่ำลง จึงต้องวาดปีกให้ชูสูงมากกว่าปกติ
4. ติดกาวแล้วไม่สนิทหลุดได้ ปัญหานี้แก้ไขได้โดย กาวที่ใช้ ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง แล้วกดให้แน่นและอย่างพึ่งรีบขยับ รอสักครู่ให้กาวแห้ง เพื่อที่จะได้ติดอย่างแนบสนิท

การเก็บรักษาภาพเคลื่อนไหว
1. เก็บใส่ซองกระดาษ หรือ ซองพลาสติก
2. เก็บใส่แฟ้ม

ลักษณะทั่วไป ของ POP-UP แบบปากยื่น

ลักษณะทั่วไป ของ POP-UP แบบปากยื่น
POP-UP แบบนี้จะมีลักษณะเด่น ในส่วนของปากของการ์ตูนที่สามารถยื่นออกมาเป็นมิติ ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เรียนมาก


หลักการในการผลิตภาพ POP-UP แบบปากยื่น
1. การวาดหรือสำเนาภาพที่จะทำ POP-UP แบบนี้ ส่วนของปากการ์ตูน จะต้องอยู่ระหว่างรอยพับของกระดาษ
2. เวลาติดปากลงบนภาพต้องคำนึงถึงเวลาปิดปก ระวังส่วนปากจะเลยเกินออกจากเล่ม
3. กาวที่ใช้ ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง และรับพับปกเข้าหากัน เพื่อที่จะได้ติดอย่างแนบสนิท

ขั้นตอนการผลิตภาพ POP-UP แบบปากยื่น
1.วาดภาพหรือสำเนาภาพ ลงบนกระดาษที่มีความหนา 150-180 แกรม ขนาด A4 โดยให้ส่วนของปากการ์ตูน อยู่ระหว่างรอยพับของกระดาษและระบายสีให้สวยงาม


2. วาดภาพหรือสำเนาภาพปากของการ์ตูน โดยแยกส่วน ออกจากพื้นหลัง


3. ตัดภาพปากการ์ตูนเหลือพื้นที่ด้านในของปาก ดังรูป เพื่อใช้เป็นฐานในการติดปากกับพื้นหลัง ดังรูป


4.นำภาพปากการ์ตูนที่ตัดไว้ ทากาวในส่วนที่เป็นฐาน นำไปติดกับพื้นหลัง โดยติดให้อยู่ระหว่างรอยพับของกระดาษ ดังรูป แล้วรีบพับทันที เพื่อกาวจะได้ติดแน่นสนิท


5.เราก็จะได้ภาพ POP-UP แบบปากยื่น ซึ่งจะสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้เรียนมาก


ข้อควรระวังและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในการผลิต POP-UP แบบปากยื่น
1. ปากของตัวการ์ตูนไม่ตรงกับรอยพับ ปัญหานี้แก้ไขได้โดย ในขั้นตอนการวาดหรือสำเนาภาพที่เป็นพื้นหลังเราต้องแบ่งครึ่งกระดาษให้พอดี หรือพับครึ่งกระดาษให้เห็นเส้นรอยพับแล้วจึงจะทำการวาดภาพหรือสำเนาภาพ ให้ส่วนกลางของปากการ์ตูนตรงกับรอยพับ
2. ปากของการ์ตูนติดไม่สนิทและไม่สวยงาม ปัญหานี้แก้ไขได้โดย เมื่อทากาวที่ฐานเรียบร้อยแล้ว ให้รีบติดทันที รีบพับปกเข้าหากันให้แนบสนิท ปากก็จะไม่มีรอยยับ

การเก็บรักษาภาพ POP-UP
1. เก็บใส่ซองกระดาษ หรือ ซองพลาสติก
2. เก็บใส่แฟ้ม
3. ทำกล่องสำหรับเก็บโดยเฉพาะ โดยแยกเป็นเรื่องๆ หรือเป็นชุด

การประยุกต์ใช้
1. สร้างสรรค์เป็นการ์ดอวยพร
2. นำไปประกอบตกแต่งในป้ายนิเทศเพื่อดึงดูดความสนใจ
3. นำไปประกอบการเรียนการสอน
4. ใช้ประกอบการเล่านิทาน 5. ทำธุรกิจเล็กๆ

ลักษณะทั่วไป ของ POP-UP แบบตั้ง

ลักษณะทั่วไป ของ POP-UP แบบตั้ง
POP-UP แบบนี้จะมีลักษณะเด่น ตรงที่ภาพสามารถยื่นขึ้นออกจากกันระหว่าง พื้นหลังกับตัวภาพ ซึ่งจะสร้างความเร้าใจให้กับผู้เรียนมาก

หลักการในการผลิตภาพ POP-UP แบบตั้ง
1. ในการที่จะทำภาพPOP-UP แบบนี้ จะต้องเผื่อส่วนพื้นที่ทางด้านข้างทั้งสองด้านไว้ เพื่อใช้เป็นฐานติดกาว ระหว่างตัวภาพกับพื้นของภาพ
2. ภาพที่นำมาทำต้องเป็นภาพที่ตัดหรือฉลุง่าย เพื่อสะดวกในการทำงาน
3. กาวที่ใช้ทาบริเวณฐานของภาพ ควรใช้กาวลาเท็กซ์ เพราะจะได้ติดแน่น เมื่อทากาวแล้วให้รีบติดกับพื้นหลังทันที ก่อนที่กาวจะแห้ง และพับปกเข้าหากัน เพื่อให้ภาพขยับเข้าอยู่ตำแหน่งและติดได้แนบสนิท


ขั้นตอนการผลิตภาพ POP-UP แบบตั้ง
1.วาดภาพหรือสำเนาภาพ ลงบนกระดาษที่มีความหนา 150-180 แกรม ขนาด A4 และระบายสีให้สวยงาม

2. ตัดเจาะภาพ ดังรูป และเผื่อพื้นที่กระดาษด้านข้างทั้งสองด้าน ไว้ข้างละ 1 นิ้ว พับไปด้านหลังของภาพ เพื่อไว้ใช้ทากาว ติดกับภาพพื้นหลัง




3.ทากาวตรงฐานด้านข้างของภาพที่พับไปด้านหลังทั้งสองด้าน
4.นำภาพติดลงบนภาพพื้นหลังที่มีความหนา 150-180 แกรม ขนาด A4 โดยติดให้ชิดขอบตามแนวของกระดาษและภาพ ระวังอย่าให้กาวติดตรงส่วนอื่น นอกจากบริเวณฐานด้านข้างทั้งสองด้าน
5.เราก็จะได้ภาพPOP-UP แบบตั้ง ซึ่งจะสร้างความสนใจและความแปลกตาให้กับผู้เรียนมาก



ข้อควรระวังและปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น ในการผลิต POP-UP แบบตั้ง
1. ภาพที่ตั้งขึ้นมาไม่แข็งแรง ปัญหานี้แก้ไขได้โดย ในขั้นตอนเวลาตัดเจาะภาพ อย่าตัด หรือเจอะมากเกินไปเพราะจะทำให้ตัวภาพอ่อนไม่ตั้งขึ้น
2. ปกที่เป็นพื้นหลังปิดไม่สนิท ปัญหานี้แก้ไขได้โดย เมื่อทากาวที่ฐานด้านข้างเรียบร้อยแล้ว ให้รีบติดทันที รีบพับปกเข้าหากันให้แนบสนิท

การเก็บรักษาภาพ POP-UP
1. เก็บใส่ซองกระดาษ หรือ ซองพลาสติก
2. เก็บใส่แฟ้ม
3. ทำกล่องสำหรับเก็บโดยเฉพาะ โดยแยกเป็นเรื่องๆ หรือเป็นชุด

การประยุกต์ใช้
1. สร้างสรรค์เป็นการ์ดอวยพร
2. นำไปประกอบตกแต่งในป้ายนิเทศเพื่อดึงดูดความสนใจ
3. นำไปประกอบการเรียนการสอน
4. ใช้ประกอบการเล่านิทาน
5. ทำธุรกิจเล็กๆ

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551

สื่อสร้างสรรค์ประเภทภาพ POP-UP

1.ภาพ POP-UPแบบตั้ง วิธีนี้เป็น POP-UP ที่เห็นมากที่สุด เพราะสามารถทำได้ง่าย เป็น POP-UP ที่มีเทคนิคภาพที่ตั้งขึ้นมาจากพื้นหลัง เป็นเทคนิคที่น่าสนใจ
2.ภาพ POP-UPแบบยืน วิธีนี้เป็น POP-UP ที่เห็นแล้วจะตื่นเต้นมาก เพราะเป็น POP-UP ที่มีเทคนิคภาพที่โดดเด่น พอเปิดขึ้นมาแล้ว ภาพ POP-UP จะยืนขึ้นมาจากพื้นหลัง สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี
3.ภาพ POP-UPแบบกรีด วิธีนี้เป็น POP-UP ที่นิยมมาก เพราะเป็น POP-UP ที่มีเทคนิคภาพที่จะตั้งขึ้นมาจากพื้นหลังอยู่ระหว่างกึ่งกลางของพื้นหลัง เป็นเทคนิคที่ทำไม่ยากนัก เห็นแล้วตื่นตาตื่นใจ ดูมีมิติ 4.ภาพ POP-UPแบบตัด วิธีนี้เป็น POP-UP ที่ง่ายมาก เพราะเป็น POP-UP สามารถตัดเป็นฐานและนำภาพมาติดให้สวยงาม จัดวางให้เหมาะสม เป็นเทคนิคภาพที่จะตั้งขึ้นมาจากพื้นหลังอยู่ระหว่างกึ่งกลางของพื้นหลัง น่าสนใจนำไปประกอบการเรียนการสอนได้

วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ความสำคัญและที่มา

สื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากต่อการเรียนการสอนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพราะสื่อเป็นสิ่งที่จะช่วยในการกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ช่วยในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาตรงกับผู้สอนและสามารถดำเนินการสอนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าสื่อในปัจจุบันจะมีสื่อการเรียนการสอนออกมาหลากหลายประเภท แต่สื่อที่น่าสนใจสามารถกระตุ้นและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ คือ สื่อประเภท POP-UP และภาพเคลื่อนไหว เพราะเป็นสื่อที่มีเทคนิคและสีสันที่สวยงาม เป็นตัวกลางในการสื่อสารระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้เป็นอย่างดี POP-UP และภาพเคลื่อนไหว เป็นสื่อรูปแบบหนึ่งที่มีการนำเสนอเทคนิคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เทคนิค POP-UP แบบตั้ง เทคนิค POP-UP แบบยืน เทคนิค POP-UP แบบปากยื่น ภาพเคลื่อนไหวแบบขยับ ภาพเคลื่อนไหวแบบแกนและอีกมากมาย ซึ่ง POP-UP และภาพเคลื่อนไหว จะเน้นสีสันของภาพ เทคนิคที่ตื่นเต้น เนื้อหาและเกร็ดความรู้ที่เข้าใจง่าย ตัวอักษรที่สะดุดตา สิ่งเหล่านี้เป็นส่วนประกอบที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้อย่างดียิ่ง ดังนั้นจะเห็นได้ว่า สื่อสร้างสรรค์ประเภท POP-UP และภาพเคลื่อนไหว เป็นสื่อการเรียนการสอนที่ให้ประโยชน์ต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก เนื่องจากเร้าใจความสนใจ และดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้ดี ผู้ศึกษาจึงเห็นความจำเป็นในการสร้างและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ประเภท POP-UP และ ภาพเคลื่อนไหว เรื่อง “สัตว์น้อยพาเรียนรู้” เพื่อเสริมสร้างนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ทั้งนี้ครูผู้สอนสามารถนำสื่อสร้างสรรค์ประเภท POP-UP และภาพเคลื่อนไหวไปบูรณาการในการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์จากการศึกษาให้มากที่สุด